วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมครั้งที่ 4 การบ้านวันที่ 26 มิ.ย.55


ข้อ 1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
             ตอบ  การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว
ประเภทของการเสริมแรง  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเสริมแรงบวก คือ การให้ตัวเสริมแรงบวก เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้าง ทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนด เงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก 2. การเสริแรงลบ คือ การให้ตัวเสริมแรงลบ เมื่อทำพฤติกรรมที่กำหนด (ต้องการ) แล้ว เช่น เมื่ออยู่ในห้องที่อบอ้าวเราจะเปิดหน้าต่าง เปิดหน้าต่างเป็นพฤติกรรมที่กำหนด หายอบอ้าวเป็นตัวเสริมแรงลบ หรือนักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น
                      การเสริมแรงทำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เสริมแรงต่อเนื่อง คือเสริมแรงทุกครั้งที่ทำพฤติกรรมถูกต้อง เหมาะสมกับการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่  2. เสริมแรงเป็นบางครั้ง เหมาะสำหรับการรักษาพฤติกรรมที่เรียนรู้แล้วไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการเสริมทุกครั้ง
                       เจ้าของทฤษฎี นี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ 1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
                       แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
                       การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้ ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่องบอกผลการกระทำว่าถูกผิด และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อๆ ไป การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้ ควรจะให้การเสริมแรงทันที ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป ควรจะจัดกิจกรรมการเรียนให้เป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก และเป็นตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
                    การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Giving Feedback) เป็นแนวทางหนึ่งในการใช้การเสริมแรงในการจัดการเรียนการสอน การให้ข้อมูลป้อนกลับ Giving Feedback หมายถึง คำหรือประโยคที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
               ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ครูผู้สอนสามารถนำการให้ข้อมูลป้อนกลับไปใช้ ในการตรวจสอบการทำงานของนักเรียน หรือในขณะที่นักเรียนนำเสนองาน เป็นต้น ประโยชน์ของการให้ข้อมูลป้อนกลับ ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนและช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
              แนวทางการนำการให้ข้อมูลป้อนกลับไปใช้ในชั้นเรียน ทำได้ด้วยการพูดหรือเขียนคำหรือประโยคที่เป็นการชื่นชม เพื่อช่วยให้นักเรียนชอบและปรับปรุงการเรียนรู้ของตน ประเภทของการให้ข้อมูลป้อนกลับ มี 1. ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก Positive Feedback 2.ข้อมูลป้อนกลับเชิงลบ Negative Feedback   การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงลบอาจลดแรงจูงใจของนักเรียน ดังนั้นผู้สอนควรเปลี่ยนไปใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวกแทน
                      ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดด้านการเสริมแรงโดยการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Giving Feedback)ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าตะคร้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ทำการสอนตามแผนการสอนระยะเวลา 60 นาที และเก็บข้อมูลโดยการสังเกตบรรยากาศการเรียนรู้และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามหลังการเรียน พบว่านักเรียนมีความสนุกสนาน มีความตื่นเต้นและ มีความสุขในการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น นักเรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนอยากเรียนเช่นนี้ทุกวัน เพราะชอบครู ต้องการให้ครูมาสอนอีกเพราะเป็นการสอนที่ไม่เครียด ต้องการให้ครูมาสอนอีกเพราะชอบการเล่นเกมที่ใช้ความคิด ชอบการออกเสียงภาษาอังกฤษ ชอบการเรียนที่มีการเล่นและการแข่งขัน ชอบการฟังภาษาอังกฤษ ชอบความตลกและอารมณ์ขันของครู
                  จะเห็นได้ว่าการให้การเสริมแรง การชมและการให้ข้อมูลป้อนกลับช่วยส่งเสริมให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความสนุกสนาน นักเรียนมีความสุขในการเรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และพัฒนาไปถึงขั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบอื่นๆก็สามารถนำมาใช้เป็นการเสริมแรงได้ เช่น กิจกรรมการแข่งขัน เกมต่างๆ กิจกรรมที่เน้นทักษะการคิด อารมณ์ขันและความตลกของผู้สอน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นต้น


ข้อ 2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
            ตอบ  ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory) 2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory)
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการ
4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่มจิตวิทยาร่วมสมัยจิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์“ ร่วมสมัย ” หรือ Contemporary
ข้อ 3.  มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
              ตอบ  วัสดุสิ้นเปลือง อาจจะจริงในบางกรณี เช่นวัสดุชิ้นนั้นมีราคาแพงและมาสามารถผลิตขึ้นเอง จำเป็นต้องซื้อ วัสดุบางชนิดอาจจะไม่มีการสิ้นเปลืองเลย เช่น วัสดุที่สามรถหาได้จากธรรมชาติ หรือสามารถหาได้ตามท้องถิ่น หรือมีอยู่ในบ้านเยอะๆ
ข้อ 4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
              ตอบ  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  11  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท  และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า  “กรวยประสบการณ์”  (Cone  of  Experience)  สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) ถือเป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และเป็นรูปธรรมมากที่สุด หรือเกิดจากการกระทำของตนเอง เช่น การสัมผัส การเห็นการเรียนจากของจริง และการลงมือกระทำ เป็นต้น
2. ประสบการณ์รอง(Contrived Experience)   เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองหรือของจำลองก็ได้ เช่น การสร้างท้องฟ้าจำลอง การใช้หุ่นจำลอง ตัวอย่าง ตู้อันตรทัศน์หรือสื่อสามมิติ เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง(Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย เวลาและสถานที่ เช่น การแสดงละครประวัติศาสตร์ ละครพื้นเมือง หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4. การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญที่แสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น อาจเป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย เช่น การฉายภาพยนตร์ สไลด์ และฟิล์มสตริป แสดงเนื้อหาในส่วนที่ต้องการสาธิต เป็นต้น
5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน เช่น การเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ การสัมภาษณ์บุคคลที่มีความรู้ เป็นต้น
6. นิทรรศการ (Exhibition)  เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้และสาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด
7.โทรทัศน์ (Television) เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเห็นและได้ยิน เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง โดยโทรทัศน์ยังสามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวและสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกรายการไว้สำหรับศึกษาต่อในภายหลังได้อีกด้วย
8. ภาพยนตร์(Motion Picture)   เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเห็นและได้ยินเช่นเดี่ยวกับโทรทัศน์ แต่เรื่องราวต่างๆจะทุกบันทึกไว้ในลักษณะของฟิล์มหรืออยู่ในรูปแบบของ สื่อDVDหรือ VCD
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง (Recording, Radio and Still Picture) การบันทึกเสียงอาจอยู่ในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึก วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง ส่วนภาพนิ่งอาจเป็นภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริงก็ได้ ข้อมูลที่อยู่ในสื่อดังกล่าวสามารถให้ประสบการณ์กับผู้เรียนได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ก็ได้ แต่สามารถเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวที่สอนได้ เนื่องจากใช้วิธีการฟังและดูเท่านั้น
10. ทัศนสัญลักษณ์(Visual Symbol) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นต้องคำนึกถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการเลือกนำไปใช้ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
 11. วจนสัญลักษณ์(Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ไม่มีส่วนคล้ายคลึงกับของจริง ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน   เสียงของคำพูดในภาษาพูด เป็นต้น
ข้อ 5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ     มี  3  ประเภท
1.             สื่อที่ไม่ต้องฉาย (non projected material)
2.             สื่อที่ต้องฉาย (projected material)
3.             สื่อที่เกี่ยวกับเสียง (Audio material)

ข้อ 6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
        ตอบ  ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้
      1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
      2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ
      3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
ข้อ 7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
  ตอบ    วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
ข้อ 8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
           ตอบ  ตู้อันตรทัศน์ (diorama) มีลักษณะเป็นฉาก มีความลึกคล้ายกับของจริง เช่นฉากใต้ทะเล ฉากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
            ตอบ สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริง
1.เตรียมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนาไปใช้จริงเตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง
2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัส ของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจาลองด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
5.การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ อาจกระทำได้แสดงให้ดูพร้อมกันทั้งชั้น
ข้อ 10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
 
           วัสดุกราฟิกแผนภูมิ         แบบพื้นที่
 
แบบรูปภาพ แบบเส้น
 
แบบวงกลม        แบบการ์ตูน

ข้อ 11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
       ตอบ  
1.      ช่วยให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ
2.      ช่วยให้การนำเสนอในสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมมากขึ้น
3.      ช่วยให้การนำเสนอในสิ่งที่เข้ายาก สลับซับซ้อน เข้าใจได้ง่ายขึ้น
4.      ช่วยให้การสร้างความเข้าใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประทับใจ และจดจำได้นานขึ้น
5.      ช่วยให้เกิดประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการรับรู้อย่างกว้างขวาง
6.      เป็นสื่อที่ราคาถูกและคุ้มค่า

แหล่งอ้างอิง

http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/DATA7.HTML
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456174?
http://sumy42d.blogspot.com/